ชื่อรายการ
TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน ( THE MAGNIFICENT TEN 2019)
ผู้ให้การสนับสนุนหลัก
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด
ผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน
กรังด์ปรีซ์ มอเตอร์ ปาร์ค ในเครือ บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
รับรองการจัดการแข่งขัน
สมาพันธ์ออฟโรดแห่งประเทศไทย
รูปแบบการแข่งขัน และสนามแข่ง
ณ สนามกรังด์ปรีซ์ มอเตอร์ ปาร์ค อ. บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
สนามธรรมชาติปล่อยเดี่ยวผสมจำลองธรรมชาติปล่อยคู่
รุ่นการแข่งขัน แบ่งออกเป็น 4 รุ่น
- รุ่น TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2019
- รุ่น SUPER OPEN10 เซียนประจัญบาน 2019
- รุ่น เที่ยวป่า OPEN 10 เซียนประจัญบาน 2019
- รุ่น OFF ROAD CLUB TEAM 10 เซียนประจัญบาน 2019
กำหนดการแข่งขันประเภทบุคคลจำนวน 3 รุ่นทั้งหมด SS
วันที่/เวลา รายละเอียด – สถานที่
หมายเหตุ: จำนวน SS, รูปแบบการแข่งขัน และเงินรางวัลทางผู้จัดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
รุ่น Toyota Hilux Revo 10 เซียนประจัญบาน
คุณสมบัตินักแข่ง/กติกาเทคนิครถแข่ง
1. คุณสมบัติรถแข่ง
- 1.1 เป็นรถยนต์ปิคอัพ Toyota Hilux Revo แบบขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ที่มีสายพานการผลิตควบคู่มากับตัวรถซึ่งผลิตขึ้นในประเทศไทย โดยดูข้อมูลจำเพาะได้จากแคตตาล็อคของรถที่ผลิตออกจำหน่ายทั่วไป (Series Production)
- 1.2 ตัวถัง (BODYSHELL) และโครงสร้าง (CHASSIS) ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิตในรถรุ่นนั้นๆ ห้ามใช้ไฟเบอร์หรือวัสดุอื่นๆ ทดแทน (ห้ามถอดฝาปิดกระบะท้าย) และไม่อนุญาตให้ตัดต่อบอดี้
- 1.3 ต้องเป็นรถที่จดทะเบียนเพื่อใช้บนถนนสาธารณะทั่วไป
- 1.4 สภาพเส้นทางแข่งขันเป็นแบบจำลองอุปสรรคจากธรรมชาติ รถทุกคันของรุ่น HILUX REVO สามารถแข่งขันได้ ไม่บังคับติดตั้ง WINCH แต่หากรถแข่งคันใดติดตั้ง WINCH จะต้องเป็น WINCH ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ไม่มีการจำกัดกำลังฉุดลากของ WINCH ส่วนรถที่มีการติดตั้งวินช์เพลาจะต้องทำการตัดระบบการทำงานของวินช์ออกให้ชัดเจน และรถที่ติดตั้ง WINCH จะต้องมี สมอบก สแน็ชบล็อก ผ้ากระสอบ ถุงมือหนังคลุมเต็มใบ สำหรับจับสายสลิง เป็นอุปกรณ์เสริม
- 1.5 อุปกรณ์ช่วยเหลือที่ต้องมี คือ ถังดับเพลิงน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม/1 ถัง ติดตั้งอย่างแน่นหนาในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้งานได้ง่าย
- 1.6 ต้องมีการติดตั้งขอลากหน้า-หลัง สำหรับการช่วยเหลือ พร้อมสติ๊กเกอร์บ่งชี้ตำแหน่งที่ชัดเจน และเห็นได้ง่าย
- 1.7 ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่มีจุดยึดอย่างน้อย 3 จุด และสามารถใช้งานได้โดยไม่ขัดข้อง
2. การปรับแต่งเครื่องยนต์
- 2.1 ตัวเทอร์โบ (โข่งไอดี โข่งไอเสีย และ CENTER-SECTION) สามารถปรับเปลี่ยน และทำการตกแต่งได้
- 2.2 ระบบหล่อเย็นอากาศไอดี (INTERCOOLER) สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดได้ แต่การติดตั้งต้องยึดในตำแหน่งของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต
- 2.3 ชิ้นส่วนและวัสดุข้อต่อท่อ INTERCOOLER ท่อน้ำ ท่อน้ำมัน ท่ออากาศ อนุญาตให้ เปลี่ยนได้แต่ยังคงลักษณะทิศทางเดิมเอาไว้
- 2.4 สามารถติดตั้งตัวปรับแรงดันเทอร์โบภายในห้องโดยสารได้ หรือตำแหน่งที่ปรับได้ระหว่างขับ
- 2.5 ระบบหัวฉีด ปั๊มดีเซล ปรับแต่งได้ แต่ห้ามเปลี่ยนแปลงระบบคอมมอนเรล
- 2.6 ห้ามติดตั้งระบบ DRY-SUMP, SUPERCHARGER และ/หรือ NITROUS OXIDE
- 2.7 ระบบท่อร่วมไอดี ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต ท่อไอเสียอนุญาตให้ปรับเปลี่ยนได้ แต่ปลายท่อไอเสียต้องออกท้ายรถเลยเพลาหลัง และไม่เป่าลงดิน2.8 หม้อกรองอากาศ และไส้กรองอากาศอนุญาตให้เปลี่ยนได้
- 2.8 หม้อกรองอากาศ และไส้กรองอากาศอนุญาตให้เปลี่ยนได้
- 2.9 อนุญาตให้เปลี่ยนหรือปรับขยายหม้อน้ำได้ แต่ต้องติดตั้งอยู่ในตำแหน่งเดิม (สามารถติดตั้งพัดลมไฟฟ้าเพิ่มเติมได้)
- 2.10 กล่อง ECU สามารถปรับแต่งได้ หรือต่อพ่วงกล่องเพิ่มจากกล่องเดิมได้
- 3. ระบบส่งกำลัง
- 3.1 เสื้อเกียร์ต้องใช้ของเดิมจากโรงงานผู้ผลิต ปรับแต่งอัตราทดเกียร์ได้ แต่ห้ามใช้เฟืองเกียร์แบบ “DOG- ENGAGEMENT”
- 3.2 ต้องใช้เสื้อเฟืองท้ายเดิมที่ติดรถมาจากโรงงานผู้ผลิต แต่ปรับปรุงชิ้นส่วนภายในได้
4. ช่วงล่าง
- 4.1 ห้ามเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของช่วงล่าง (ต้องเป็นปีกนกเดิมและคานหลังเดิมเท่านั้น)
- 4.2 อนุญาตให้เปลี่ยนขนาดของเหล็กกันโคลง แหนบ คอยล์สปริง แต่ต้องติดตั้งในตำแหน่งจุดยึดเดิม (สามารถปรับปรุงจุดยึดต่างๆ ให้แข็งแรงขึ้นได้)
- 4.3 อนุญาตให้เปลี่ยน SHOCK-ABSORBER หรือติดตั้งเพิ่มเติมได้ไม่เกินจุดละ 2 ตัว (รวมทั้งคันไม่เกิน 8 ตัว) และให้คงไว้ตำแหน่งจุดเดิมข้างละ 1 จุด
- 4.4 รถแข่งสามารถติดตั้งชุดยกขนาดต่างๆ ได้ โดยจะต้องคงระบบพื้นฐานเดิมของช่วงล่างทั้งด้านหน้า (อิสระปีกนก) และหลัง รวมถึงเสื้อเพลาท้ายทั้งด้านหน้า – หลัง
- 5. ระบบเบรค
- 5.1 ระบบห้ามล้อต้องคงรูปแบบเดิม คาร์ลิเปอร์ต้องคงเดิมจากโรงงานผู้ผลิต หน้าดิสเบรค หลังดรัมเบรค
- อนุญาตให้เปลี่ยนผ้าเบรค-จานเบรค และสายส่งน้ำมันเบรกได้ (รถที่มี ABS หรือ DYNAMIC STABILITY CONTROL เป็นอุปกรณ์มาตรฐานจากโรงงงาน อนุญาตให้ตัดระบบการทำงานดังกล่าวออกก็ได้)
- 5.2 ระบบเบรคมือ ไม่สามารถปรับแต่งและแยกอิสระได้ และต้องคงอยู่ในตำแหน่งเดิมสายพายการผลิต
6. ขนาดของยางต้องมีขนาดไม่เกินกว่า 35 นิ้ว
7. ภายในห้องโดยสาร ภายในห้องโดยสาร อุปกรณ์ระบบควบคุม และแผงหน้าปัดเรือนไมล์ของโรงงานผู้ผลิต ต้องคงสภาพเดิมไว้ แต่เบาะนั่งและแผงประตู พรมปูพื้น และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ถอดออกได้
8. คุณสมบัตินักแข่ง
นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น หรือนักแข่งที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีใบรับรองจากบิดา-มารดา ยินยอมให้ทำการแข่งขันได้
รุ่น SUPER OPEN 10 เซียนประจัญบาน
คุณสมบัติรถแข่ง
- 1.1 เป็นรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น ทั้งเบนซิน และดีเซล ไม่จำกัดความจุ ซี.ซี. และแรงม้าเครื่องยนต์
- 1.2 ตัวถัง ระบบช่วงล่างปรับแต่งได้อิสระ
- 1.3 จะติดตั้งขอลากหน้า-หลัง (MATCH BOX) และสวิตช์ตัดไฟที่เห็นได้ชัดเจน
- 1.4 จะต้องติดตั้งโรลบาร์ความหนาไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตรขึ้นไป
- 1.5 รถแข่งทุกคันจะต้องมีการติดตั้งสวิตช์ตัดไฟบริเวณด้านนอกในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างน้อย 1 จุด และภายในห้องโดยสารในตำแหน่งที่สามารถเลือกใช้งานได้ชัดเจน 1 จุด
- 1.6 ต้องมีถังดับเพลิงน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม/1 ถัง ที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ปลอดภัยติดตั้งอย่างแน่นหนา และใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- 1.7 มีสมอบกติดตั้งประจำรถในสภาพพร้อมใช้งานและอุปกรณ์ช่วยเหลือตัวเอง (อิสระ)
- 1.8 รถแข่งทุกคันจะต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย (SAFETY BELT) ที่มีจุดยึดร่างกายให้แนบกับเบาะโดยสารไม่น้อยกว่า 4 จุด
- 1.9 หมวกกันน็อคต้องเต็มใบและต้องมีมาตราฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
- 1.10 รถแข่งทุกคันจะต้องมีหลังคาและฝากระโปรงปิดตัวเครื่องยนต์และเทอร์โบเพื่อความปลอดภัย
- 1.11 รถแข่งทุกคันจะต้องมีซุ้มเกียร์ปกปิดแบ่งแยกห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารชัดเจน
- 1.12 รถแข่งทุกคันโรบาร์ด้านข้างต้องคลุมศรีษะและร่างกายของนักแข่งโดยไม่ให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเกินออกมานอกตัวรถ
คุณสมบัตินักแข่ง
นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น หรือนักแข่งที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีใบรับรองจากบิดา-มารดา ยินยอมให้ทำการแข่งขันได้
รุ่นเที่ยวป่า OPEN 10 เซียนประจัญบาน
คุณสมบัติรถแข่ง
1 . รถที่เข้าร่วมการแข่งขันไม่จำกัดยี่ห้อในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ ยกเว้นรถยนต์ปิคอัพที่เป็นคู่แข่งทางการตลาดกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ซึ่งมีคู่มือจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2013-2019 ห้ามลงทำการแข่งขัน แต่รถยนต์ในตระกูลโตโยต้าสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ไม่จำกัดทั้งรุ่นและปี
2 รถที่เข้าทำการแข่งขันจะเป็นรถที่มีการตกแต่งช่วงล่างแบบปีกนก หรือคานแข็งก็ได้ในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ (ห้ามปีกนกหลัง)
3 รถที่เข้าทำการแข่งขันทุกคัน สามารถติดตั้งวินช์ประเภทใดก็ได้ จำนวนไม่เกิน 3 เครื่อง
4 ตัวถัง (BODYSHELL) และโครงสร้าง (CHASSIS) ห้องโดยสาร (ห้องเก๋ง) ต้องเป็นของเดิมจากโรงงานผู้ผลิตในรถรุ่นนั้นๆ (ห้ามตัดแปะ)
5 รถที่มีตัวถังเป็นแบบ Monocoque (โมโนค๊อก หรือรถที่ไม่มีแชสซีส์) สามารถลงทำการแข่งขันได้ มีการตกแต่งช่วงล่างแบบปีกนกหรือคานแข็งก็ได้ในประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อ (ห้ามปีกหลัง)
6 รถทุกคันจะต้องมีการติดตั้งถังดับเพลิงน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2 กิโลกรัม/1 ถัง ในจุดที่หยิบใช้งานง่าย และมีการติดตั้งแน่นหนา ไม่หลุดกระเด็นง่าย
7 เครื่องยนต์ต้องเป็นเครื่องวางหน้า เกียร์ต้องอยู่หลังเครื่อง อนุญาตให้ปรับแต่ง หรือเปลี่ยนใหม่ได้ ไม่จำกัดความจุกระบอกสูบ และประเภทของเครื่องยนต์
8 ยางสำหรับรถที่เข้าแข่งขันจะต้องไม่เกิน 37 นิ้ว
9 สามารถตัดร่นกระบะ หรือส่วนท้ายของบอดี้รถได้ แต่ต้องมีไฟหน้าและไฟท้ายส่องสว่างชัดเจน สามารถตัด/ต่อแชสซีส์ได้ และไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร แต่ต้องไม่ร่นจนก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร
10 การปรับแต่งระบบช่วงล่าง สามารถทำได้เต็มที่ รวมถึงสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสมรรถนะของระบบส่งกำลัง อาทิ ดิฟล็อก แอร์ล็อกเกอร์ และลิมิเต็ดสลิปได้
11 ต้องติดตั้งขอลากหน้า-หลัง สำหรับการช่วยเหลือ พร้อมติดสติ๊กเกอร์บอกตำแหน่งที่ชัดเจน และเห็นได้ง่าย
12 ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยที่มีจุดยึดอย่างน้อย 4 จุด สามารถใช้งานได้โดยไม่ขัดข้อง พร้อมการติดตั้งชุดโรลบาร์ดามห้องโดยสาร จะเป็นการติดตั้งโรลบาร์ด้านใน หรือด้านนอกก็ได้ แต่ต้องมีขนาดความหนาของเหล็กไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร
13 หมวกกันน็อกต้องเต็มใบและต้องมีมาตราฐานอุตสาหกรรม (มอก.)
14 รถแข่งทุกคันจะต้องมีหลังคาและฝากระโปรงปิดตัวเครื่องยนต์และเทอร์โบเพื่อความปลอดภัย
15 รถแข่งทุกคันจะต้องมีซุ้มเกียร์ปกปิดแบ่งแยกห้องเครื่องยนต์และห้องโดยสารชัดเจน
16 รถแข่งทุกคันต้องมีกระจกหน้า-หลัง (กระจกหลังอนุญาตให้ใช้ตะแกรงเหล็กได้) แบ่งแยกห้องโดยสารชัดเจน ไม่อนุญาตให้ใช้อะคริลิค หรือ แผ่นพลาสติกใส
17. รถแข่งทุกคันประตูซ้าย-ขวาต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร และประตูจะต้องเปิดในลักษณะเดิมจากโรงงาน ห้ามดัดแปลงเปิดไปด้านหลังเพื่อออกด้านหน้า
18.การปรับแต่งโครงสร้างรถแข่งจะต้องดูภายนอกบ่งบอกได้ว่าเป็นรถรุ่นอะไร
คุณสมบัตินักแข่ง
นักแข่งที่เข้าร่วมทำการแข่งขัน จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น หรือนักแข่งที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีใบรับรองจากบิดา-มารดา ยินยอมให้ทำการแข่งขันได้
หมายเหตุ กติกาอาจมีการเปลี่ยนตามความเหมาะสม ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบต่อไป
อัตราการให้คะแนนในแต่ละ SS (100 คะแนน)
ลำดับที่ | คะแนน | ลำดับที่ | คะแนน |
1 | 100 | 2 | 95 |
3 | 90 | 4 | 87 |
5 | 84 | 6 | 81 |
7 | 78 | 8 | 75 |
9 | 72 | 10 | 69 |
– ทีมอันดับที่ 11 เป็นต้นไป คะแนน 60 คะแนน
– ทีมที่ทำเวลาดีที่สุดในแต่ละ SS อันดับ 1 จะได้รับคะแนนโบนัสพิเศษ 3 แต้ม อันดับ 2 ได้ 2 คะแนน และอันดับ 3 ได้ 1 คะแนน
– ทีมที่ไม่จบการแข่งขันใน SS นั้นๆ ถือว่า DNF (DID NOT FINISH) ได้ 50 คะแนน
– รถที่ไม่สามารถเข้าจุดสตาร์ทภายในเวลาที่กำหนด ( 3 นาที ) จะถือว่า DNS (DID NOT START) ได้ 0 คะแนน
– SS ที่วิ่งแทร็คคู่ นักแข่งต้องใส่ชุดนักแข่งลงทำการแข่งขันเท่านั้น
ข้อบังคับ และการปรับโทษการแข่งขัน
- นำรถแข่งเข้าจุดสตาร์ทของแต่ละช่วงช้าเกินกว่า 3 นาที ถือว่าสละสิทธิ์ และไม่มีเวลา และคะแนนสะสมในช่วงการแข่งขันนั้น
- การลัดเส้นทางโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม (ตลอดการแข่งขัน) ปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน (โดยล้อออกจากเส้นทางทั้ง 4 ล้อ) ถือว่าเป็นการ DNF ในช่วงทดสอบนั้นๆ (ริบบิ้นยาว) ในกรณีริบบิ้นผูกหัวหลัก รถออกช่องไหน เข้าช่องนั้น หากเข้าผิดช่องทางทั้ง 4 ล้อ ถือว่า DNF
- รถแข่งที่กำลังทำการแข่งขัน แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ต่อไปในเส้นทางการแข่งขัน จะต้องช่วยเหลือตนเองด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือตามที่กำหนดในกติกา หากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้เคลื่อนที่ต่อไปในเวลาที่กำหนด เจ้าหน้าที่สนามจะทำการช่วยเหลือเคลื่อนย้ายรถแข่งให้ออกจากเส้นทาง และปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน ถือว่า DNF ในช่วงทดสอบนั้นๆ
- ในกรณีที่รถแข่งไม่สามารถเข้าจุดสตาร์ท เพื่อทำการแข่งขันในช่วงทดสอบนั้นๆ จะถือว่า DNS และไม่มีคะแนนสะสมในช่วงทดสอบนั้นๆ
- ไม่ออกสตาร์ทหลังกรรมการให้สัญญาณภายใน 30 วินาที ปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน และถือว่าเป็นการ DNF ในช่วงทดสอบนั้น ๆ
- กรณีชนเชือกขาด หรือเสาหลักล้มลงกับพื้นเอียงเกิน 45 องศา จะถูกบวกเวลาเพิ่มจุดละ 30 วินาที ทันทีโดยไม่ต้องลงมาซ่อมแซม
- ลากสลิงโดยไม่สวมถุงมือบวกเวลาเพิ่ม 30 วินาที/การวินช์ 1 ครั้ง และเมื่อทำการวินช์ทุกครั้ง ต้องใช้กระสอบ หรือ ผ้าคลุมวินช์ ทุกครั้งเมื่อทำการวินช์ แม้จะเป็นวินช์เชือกก็ตาม หากไม่ใช้จะถูกบวกเวลาเพิ่ม 30 วินาที (สามารถใช้ผ้าคลุม, กระสอบ มัดติดกับปลายสลิงได้)
- การแต่งกายต้องรัดกุม ใส่กางเกงต้องเลยระดับหัวเข่าลงไป รองเท้าจะต้องเป็นรองเท้าหุ้มส้นเป็นอย่างน้อย
- นักแข่งทุกคนในประเภทบุคคลต้องสวมชุดนักแข่ง Racing Suit ที่มีมาตราฐานสากลกำหนด คือ จะต้องเป็นผ้ากันไฟเท่านั้นอย่างน้อย 1 ชั้น ลงทำการแข่งขัน
- ระหว่างการแข่งขันสามารถถอดหรือโยน แว่นออกมานอกตัวรถได้ (เพื่อความปลอดภัยในการแข่งขัน)
- ไม่มีการแจ้งซ่อมใดๆ ทั้งก่อนการแข่งขันและในระหว่างการแข่งขัน
- ห้ามทีมแข่ง และคนทั่วไปเข้าไปในเส้นทางการแข่งขันโดยเด็ดขาด ถ้าฝ่าฝืนจะยุติการแข่งขันทันที และจะแข่งต่อเมื่อไม่มีคนภายนอกในเส้นทางการแข่งขัน (เพื่อความปลอดภัยของผู้ชมและนักแข่ง)
- นักแข่งที่ลงทำการแข่งขันทุกรุ่น 1 คันสามารถลงชื่อได้ไม่เกิน 3 คน ตลอดการแข่งขัน ( ถ้ามีรายชื่อบุคคลที่ 4 เพิ่มเติมถือว่าตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน)
- นักแข่งสามารถลงทำการแข่งขันได้ 2 รุ่น แต่ 1 รุ่นต้องเป็นรุ่น TOYOTA HILUX REVO
- นักแข่งที่ไม่ผ่านรอบคัดเลือกทั้งผู้ขับและผู้ช่วยขับรวมถึงรายชื่อที่ 3 ที่ลงทำการแข่งขัน ไม่สามารถลงทำการแข่งขัน กับรถที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 3 รุ่นไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม
- นักแข่งที่มีผู้สนับสนุนเป็นค่ายรถยนต์คู่ค้าทางการตลาดกับ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อนุญาตให้ติดสติ๊กเกอร์ผู้สนับสนุนได้ขนาดไม่เกิน 12 x12 นิ้ว และไม่เกิน 2 จุดบนรถแข่งคันนั้น รวมถึงไม่อนุญาตติดธงสัญลักษณ์ค่ายรถผู้สนับสนุนในรุ่นนั้นๆ ทั้งในรุ่น SUPER OPEN (การ์ตูน) และ รุ่น เที่ยวป่า OPEN
- ในรุ่น SUPER OPEN (การ์ตูน) และ รุ่น เที่ยวป่า OPEN ผู้ช่วยผู้ขับขี่ (โค-ไดรเวอร์) จะต้องมีที่จับชัดเจนและมั่นคงที่ไม่ทำให้มือหรือแขนออกมานอกตัวรถเด็ดขาด
- กติกาอื่นๆ ใด ที่ไม่ได้ระบุในเอกสาร คณะกรรมการเห็นว่าอาจจะไม่ปลอดภัยจะแจ้งให้ทราบ ก่อนการแข่งขัน และใช้บังคับต่อไป กติกาทั้งหมดที่ไม่ได้กล่าวมาในที่นี้อยู่ภายใต้ดุลพินิจของผู้จัดการแข่งขัน และนายสนามหรือผู้ควบคุมการแข่งขันเท่านั้น และคำตัดสินของนายสนามและคณะกรรมการถือเป็นอันสิ้นสุด
การปรับโทษให้ออกจากการแข่งขัน
- ผู้เข้าทำการแข่งขันหรือทีมแข่งทำการหยุดเวลา หรือกระทำการใดๆ ที่ทำให้ผู้แข่งขันของตนเสียโอกาส (อยู่ในดุลพินิจของนายสนาม) ถือว่าต้องออกจากการแข่งขัน
- เข้าไปในเขตเก็บรถ PARK FIRME โดยไม่ได้รับอนุญาต
- แสดงมารยาทไม่สุภาพต่อคณะกรรมการ
- เจตนากลั่นแกล้งคู่แข่งในระหว่างการแข่งขัน
- ดื่มสุรา, เสพของมึนเมา, ยาเสพติด ในระหว่างการแข่งขัน
- ได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกในระหว่างการแข่งขัน (ขึ้นอยู่ในดุลพินิจของนายสนามหรือผู้ควบคุมการแข่งขัน)
- ไม่สวมหมวกนิรภัยให้ออกจากการแข่งขัน
- โค-ไดรเวอร์ขึ้นไปยืนอยู่บนกระบะหลังรถในขณะทำการแข่งขันในสถานการณ์แข่งขันปกติ โดยที่มิได้มีอุปสรรคใดขวางหน้า
- ไม่ติดสติ๊กเกอร์บังคับตามตำแหน่งของผู้จัดการแข่งขันระบุ ผู้จัดการแข่งขันมีสิทธิ์พิจารณาถอนสิทธิ์การแข่งขันในรถแข่งคันนั้นๆ
- ติดสติ๊กเกอร์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของโตโยต้าเกินจากกติกาที่กำหนด
การแข่งขันในแต่ละ STATION จะคิดคะแนนดังนี้
- ไม่ลงทำการแข่งขัน หรือไม่ออกสตาร์ทด้วยกำลังเครื่องยนต์ ไม่มีเวลา และไม่มีคะแนนในช่วงทดสอบนั้นๆ
- การแข่งขันแต่ละ STATION หากรถแข่งคันใดไม่สามารถแข่งขันได้จบภายในเวลา TARGET TIME ที่กำหนด จะถือว่า DNF และถ้าการแข่งขันใน STATION นั้น มีรถแข่งไม่จบการแข่งขันตามเวลาที่กำหนดเกินกว่า 1 คัน ให้วัดระยะทางหาตำแหน่งผู้ชนะเพื่อทำการแข่งขันใน STATION ถัดไป
- ถ้าคะแนนสะสมของนักแข่งในรุ่นนั้นๆ มีคะแนนเท่ากัน ให้นับเวลา STATION สุดท้ายเป็นผู้ชนะ
- ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่ ให้นับเวลาใน STATION แรกเป็นผู้ชนะ
- ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่ ให้นับเวลาใน STATION ที่สองเป็นผู้ชนะ
- ถ้าคะแนนยังเท่ากันอยู่จน STATION สุดท้าย ให้จับฉลากหาผู้ชนะ
การประท้วงการแข่งขัน
การประท้วงจะกระทำได้เฉพาะผู้ที่มีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรถที่ทำการแข่งขันประท้วงเท่านั้น หรือผู้จัดการทีม ผู้อื่นไม่สามารถทำการประท้วงได้ การประท้วงจะต้องทำเป็นจดหมายต่อนายสนาม และสามารถทำได้ในข้อกำหนดดังต่อไปนี้
- การประท้วงคุณสมบัติ ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน, รถแข่ง, ส่วนประกอบรถแข่ง และอุปกรณ์ต่อพ่วง ให้ยื่นประท้วงก่อนการแข่งขัน 30 นาที
- การประท้วงผลการแข่งขันให้ยื่นประท้วงภายในเวลา 30 นาที นับจากเวลาการประกาศผล
- การประท้วงเรื่องเวลา ให้ประท้วงกับกรรมการ ณ จุดนั้นๆ และทำจดหมายแจ้งต่อนายสนามภายในเวลา 15 นาที หรือหลังจากรถแข่งคันนั้นจบการแข่งขันช่วงนั้นๆ
- การประท้วงต้องแนบเงินค้ำประกันการประท้วงจำนวน 5,000 บาท พร้อมจดหมายการประท้วง ถ้าผลประท้วงถูกต้อง จะคืนเงินค้ำประกันให้ แต่ถ้าคำประท้วงไม่เป็นผล จะริบเงินทั้งหมด และจะต้องจ่ายค่าเสียหายในการพิสูจน์ เพื่อเป็นการดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ผู้มีสิทธิ์ประท้วงต้องเป็นผู้จัดการทีมหรือนักแข่งเท่านั้น และการประท้วงต้องมีผลต่ออันดับของการแข่งขันเท่านั้น
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Grand Prix Motor Park บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 4/299 หมู่ 5 ซ.ลาดปลาเค้า 66 ถ.ลาดปลาเค้า แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทร. 0-2522-1731-8, หรือ 0-2971-6450-60 ต่อ 364 และ 356 แฟ็กซ์ 0-2522-1730