กระแสการท่องเที่ยวกางเต็นท์นอนอุทยานฯ หรือสถานที่ทางธรรมชาติทั่วๆ ไป แบบแคมป์ปิ้งกำลังมาแรง และได้รับความสนใจอย่างดีจากนักท่องเที่ยวชาวไทยยุคNew normalที่มีความต้องการท่องเที่ยวทำกิจกรรมกลางแจ้ง สร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มเพื่อนและครอบครัวแบบใกล้ชิดธรรมชาติ ทุกครั้งก่อนตั้งแค้มป์ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ควรที่จะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่พอจะรบวรวมมาได้ดังต่อไปนี้ ควรเลือกสถานที่กางเต็นท์ไว้ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง โดยปกติแล้วเลือกพื้นที่ที่เคยใช้ตั้งแคมป์มาแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ขยายพื้นที่ตั้งแคมป์ออกไปอีก ควรหัดกางเต็นท์ของเราให้คล่องเสียก่อนเดินทาง มิฉะนั้นอาจเสียเวลากางเต็นท์เป็นชั่วโมง หาที่กางเต็นท์ให้ได้ก่อนพระอาทิตย์ตกดินอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อจะได้มีเวลากางเต็นท์ก่อนที่จะมืด เลือกพื้นที่ตั้งแคมป์ที่มีแหล่งน้ำไหลผ่านเพียงพอและใช้พลาสติปูรองเต็นท์ เพื่อให้พื้นแห้งโดยไม่ต้องขุดร่องระบายน้ำรอบเต็นท์ แต่ให้ตั้งเต็นท์ห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างน้อย 100 ฟุต...
ไปเมืองน่าน ก็ต้องผ่านเมืองแพร่ สองจังหวัดนี้ มีอะไรที่ใกล้เคียงกันมาก จนเรียกได้ว่าเป็นเมืองพี่เมืองน้องก็คงไม่ผิดนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศอันเต็มไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน จนตัวเมืองมีสภาพไม่ต่างจากไข่แดง ถูกโอบอุ้มอยู่กลางแอ่งกระทะ เป็นเมืองที่สวยงาม เงียบสงบ และน่าอยู่อาศัย มีศิลปวัฒนธรรมที่มีสวยงามเอกอุและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมทั้งความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แต่ถูกหล่อหลอมให้รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่น่าสนใจและค้นหาทั้งสิ้น
โดยเฉพาะน้ำตกห้วยโรงด้วย เป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงามมากอีกหนึ่งหนึ่งของร้องกวาง ทีมงานเคยเดินทางร่วมไปกับชมรมแก่งเสือเต้นและแกงโฮ๊ะน่านโดยเริ่มต้นที่บ้านห้วยโรง ไปตามเส้นทางราดยางที่ไต่ความสูงของดงดอยต่างไปเรื่อยๆ ราวครึ่งชั่วโมงกับระยะทางราว 17 กิโลเมตร ก็เดินทางมาถึงยังใจกลางหมู่บ้านบ่อหอย สิ้นสุดเส้นทางออนโรด เข้าสู่ปากทางออฟโรดที่แท้จริง
เส้นทางในช่วงแรกนี้ แม้จะเป็นเส้นทางออฟโรด แต่ก็เป็นแบบเรียกน้ำย่อย มีอุปสรรคเล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากเส้นทางจากบ้านบ่อหอยจนถึงแคมป์สนของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ถา เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังใช้อยู่เป็นประจำ จึงมีการปรับปรุงอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง
ครั้นผ่านหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ถา เข้าสู่เขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำชั่น 1A ไปแล้ว ความยากของเส้นทางเริ่มมาเยือน จากเนินชันธรรมดาๆ แปรเปลี่ยนเป็นเนินชันที่เอียงซ้ายสลับขวา และลื่น เนื่องจากได้รับอิทธิพลของฝนที่ตกลงมาก่อนหน้านี้ รถหลายๆ คันต้องงัดวินช์มาเป็นตัวช่วยลากผ่านอุปสรรคดังกล่าวไป แค่เนินแรกนี้ก็ใช้เวลาไปเกือบหนึ่งชั่วโมงเต็มๆ เราหยุดพักขบวนเพื่อเติมพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคข้างหน้า
เส้นทางบ่อหอย ถือว่าเป็นเส้นทางออฟโรดที่สวยงามเส้นทางหนึ่งของ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ รอยต่อของ อ.เวียงสา จ.น่าน สามารถเดินทางไปได้หลายเส้นทาง จะเข้ามาทางด้านบ้านป่าหุ่ง ต.ยายหัวนา อ.เวียงสา มาทะลุบ้านบ่อหอย เหมาะสำหรับรถประเภทฮาร์ทคอร์ รถต้องพร้อมจริงๆ ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งจากบ้านบ่อหอย ขับไปลงที่ อ.สอง จ.แพร่ แต่ไม่ค่อยมีใครใช้เดินทางนัก เนื่องจากยากกว่าทุกๆ เส้นที่กล่าวมา
จากหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ถา เส้นทางจะไต่สันดอยขึ้นไปเรื่อยๆ เส้นทางไม่ยาก เป็นโขดหินผสมทางดินและร่องเล็กๆ สลับซ้าย-ขวา และใช้เวลาไม่นานเท่าไรนักขบวนทั้งหมดก็ขึ้นมาถึงยอดเขาจุดสูงสุดของเส้นทาง ที่ปกคลุมไปด้วยทุ่งหญ้าเขียวครึ้ม มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นประปรายตามที่ลุ่มริมเขา และยอดเขาที่ลาดชัน อากาศเย็นสบาย ลมเย็นพัดเอื่อยๆ มองเห็นทัศนียภาพได้รอบด้าน โดยเฉพาะเทือกเขาอันสลับซับซ้อน 360 องศา
จากจุดบรรจบของสามแยกดังกล่าว เส้นทางก็ค่อยๆ ลาดต่ำลงมาเรื่อยๆ บางช่วงเป็นโค้งหักศอก บางช่วงเป็นร่องน้ำลึก บรรจบกับลำห้วยขนาดเล็กๆ หลุดจากราวป่า เข้าสู่เขตพื้นที่ทำเกษตรกรรมของชาวบ้าน ขับผ่านลำห้วยอีก 2-3 แห่ง ผ่านเรือกสวนของชาวบ้าน กระทั่งก่อนเที่ยงวันก็เดินทางมาถึงยังบ้านบ่อหอย และขับต่อเนื่องมาพักขบวนกันที่น้ำตกห้วยโรงหรือห้วยลง สถานที่ท่องเที่ยวอันมีชื่ออีกแห่งหนึ่งของ อ.ร้องกวาง
สำหรับน้ำตกห้วยโรงนั้น สามารถเดินทางเข้าไปง่ายๆ เพราะอยู่ใกล้กับปากทางไปเส้นทางออฟโรด เดินทางไปจังหวัดน่าน ตามถนนสายแพร่-น่าน อย่าลืมเลี้ยวซ้ายเข้าไปทางบ้านห้วยโรง ที่มีป้ายบอกว่าทางเข้าน้ำตกห้วยโรง ขับรถเข้าไปอีกประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกห้วยโรง
ปัจจุบันนี้ มีการสร้างถนนลาดยางอย่างดี เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวไทยได้เดินทางเข้าไปเที่ยวชม ซึ่งในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมากพอสมควร โดยเฉพาะวันหยุดนักขัตรฤกษ์ ซึ่งหลังจากที่ จ.แพร่ได้ปรับปรุงพื้นฟูธรรมชาติของสวนรุกขชาติห้วยโรง และจัดรูปแบบของการบริหารน้ำตกและปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่ให้เป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง ทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง, ร้านค้าแผงลอยและห้องน้ำที่ปลูกสร้างใกล้กับน้ำตก ไม่ให้บดบังทัศนียภาพ จึงทำให้น้ำตกห้วยโรงกลับฟื้นคืนสู่ธรรมชาติกันอีกครั้ง